MedCMU
32 subscribers
1.34K photos
5 videos
520 links
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Download Telegram
สถานการณ์ผู้ป่วย COVID-19 ในความดูแลของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วันที่ 9 ก.ย. 2564 : 08:00 น.

มีผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาตัวใน รพ.มหาราชนครเชียงใหม่ รวมทั้งหมด จำนวน 0 ราย

ผู้ป่วยที่รับการรักษาตัวในโรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่ จำนวน 6 ราย

ผู้ป่วยทั้งหมดได้รับการรักษาอย่างใกล้ชิด จากทีมแพทย์และพยาบาล

#MedCMU #MedCMUในมือคุณ
#คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
#สื่อสารองค์กรMedCMU #COVID19
#ใส่Mask #เว้นระยะห่าง #ล้างมือ
หมอเตือนหน้าฝน ระวังโรคไข้เลือดออกระบาด เผยปี 63 พบผู้ป่วยไข้เลือดออก 7.2 หมื่นราย เสียชีวิต 52 ราย

ติดตามผ่านช่องทาง Facebook : https://bit.ly/3zW59Py
สถานการณ์ผู้ป่วย COVID-19 ในความดูแลของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วันที่ 10 ก.ย. 2564 : 08:00 น.

มีผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาตัวใน รพ.มหาราชนครเชียงใหม่ รวมทั้งหมด จำนวน 0 ราย

ผู้ป่วยที่รับการรักษาตัวในโรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่ จำนวน 6 ราย

ผู้ป่วยทั้งหมดได้รับการรักษาอย่างใกล้ชิด จากทีมแพทย์และพยาบาล

#MedCMU #MedCMUในมือคุณ
#คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
#สื่อสารองค์กรMedCMU #COVID19
#ใส่Mask #เว้นระยะห่าง #ล้างมือ
ขอเชิญรับชมบรรยากาศการแข่งรอบสุดท้าย
โครงการหลักสูตรอบรมเข้มข้นระยะสั้นแพทย์-วิศวกรรมและวิทยาการข้อมูลแพทย์ ประจำปี 2564

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เชิญร่วมชม และส่งกำลังใจให้นักเรียนผู้ผ่านเข้ารอบทั้ง 21 คน จากทั่วประเทศ ที่เข้าอบรมในโครงการหลักสูตรอบรมเข้มข้นระยะสั้นแพทย์-วิศวกรรมและวิทยาการข้อมูลแพทย์ ประจำปี 2564 ในหัวข้อ Medical hackathon for chronic diseases ซึ่งจัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 18 กันยายน 2564 เวลา 09.00 - 17.30 น. โดยรับชมผ่านช่องทาง Facebook Live และ YouTube Live ของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ศ.นพ.บรรณกิจ โลจนาภิวัฒน์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า “หลักสูตรอบรมเข้มข้นระยะสั้นแพทย์-วิศวกรรมและวิทยาการข้อมูลแพทย์ (สำหรับบุคคลภายนอก) เป็นโครงการที่ต้องการผลิตบุคลากรทางด้านสายงานวิทยาการข้อมูลที่มีความรู้ความเข้าใจกระบวนการและทักษะด้านวิทยาการข้อมูล เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาและพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านการแพทย์และยกระดับงานบริการด้านสาธารณสุขเข้าสู่มาตรฐานสากล ให้มีความเพียงพอต่อความต้องการของตลาด และพัฒนาความรู้ทางด้านวิทยาการข้อมูลอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นคณะแพทยศาสตร์ และ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มช.จึงได้จัดการเรียนการสอนโครงการหลักสูตรอบรมเข้มข้นระยะสั้นแพทย์-วิศวกรรมและวิทยาการข้อมูล Intensive course in medical engineering and data science ขึ้น โดยมุ่งเน้นให้ผู้จบการฝึกอบรม ได้รับความรู้ ประสบการณ์ และมีทักษะในด้านวิทยาการข้อมูล และสามารถนำทักษะดังกล่าวไปใช้ในการแก้ปัญหาทางการแพทย์ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ผู้ที่สมัครเข้าร่วมโครงการดังกล่าวจะต้องเป็นผู้ที่กําลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 5 หรือ 6 โดยมีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) ทุกกระบวนวิชา ไม่น้อยกว่า 3.25 และผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) ในกระบวนวิชา คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี และ ชีววิทยา ไม่น้อยกว่า 3.25 ซึ่งทั่วประเทศมีผู้สมัครเข้าโครงการถึง 121 คน โดยทางคณะฯได้ทำการสอบคัดเลือกทางออนไลน์มีผู้ผ่านการคัดเลือกเพียง 21 คน ซึ่งผู้ที่ผ่านการคัดเลือกต้องเข้าอบรมในทุกวันเสาร์และอาทิตย์ เวลา 9.00-16.00 น. ตั้งแต่วันที่ 26 มิถุนายน - 15 กันยายน 2564 โดยเรียนในชั้นเรียน ณ คณะแพทย์ศาสตร์ มช. ร่วมกับการเรียนออนไลน์ ผ่านระบบ zoom meeting จำนวน 105 ชั่วโมง”

โดยในวันเสาร์ที่ 18 กันยายน 2564 นี้ เป็นการแข่งขันรอบสุดท้าย ที่ผู้เข้าร่วมอบรมโครงการฯทั้ง21 คน จากทั่วประเทศไทยจะร่วมการแข่งขัน วิเคราะห์ข้อมูลทางการแพทย์กว่า 400,000 ตัวอย่าง เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยการก่อโรค รับชมเทปบันทึกการสัมภาษณ์นักวิทยาการข้อมูลระดับโลก และตอบคำถาม โครงการแพทย์วิทยาการข้อมูล และ โครงการพิเศษวิศวกรรมศาสตร์ มช.

นอกจากผู้เข้าอบรมจะได้รับความรู้และทักษะทางด้านวิทยาการข้อมูลความรู้พื้นฐานทางการเขียนโปรแกรมและการวิเคราะห์ข้อมูลทางการแพทย์แล้ว ผู้อบรมจะได้รับใบประกาศนียบัตรการผ่านการอบรม ที่ออกโดย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสามารถนำประกาศนียบัตรไปใช้ออกเกรดหรือผลการเรียนกระบวนวิชา 261102 การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์กรณีที่ผู้อบรมสอบติดเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่อีกด้วย

*********************************
สถานการณ์ผู้ป่วย COVID-19 ในความดูแลของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วันที่ 11 ก.ย. 2564 : 08:00 น.

มีผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาตัวใน รพ.มหาราชนครเชียงใหม่ รวมทั้งหมด จำนวน 0 ราย

ผู้ป่วยที่รับการรักษาตัวในโรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่ จำนวน 5 ราย

ผู้ป่วยทั้งหมดได้รับการรักษาอย่างใกล้ชิด จากทีมแพทย์และพยาบาล

#MedCMU #MedCMUในมือคุณ
#คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
#สื่อสารองค์กรMedCMU #COVID19
#ใส่Mask #เว้นระยะห่าง #ล้างมือ
สถานการณ์ผู้ป่วย COVID-19 ในความดูแลของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วันที่ 12 ก.ย. 2564 : 08:00 น.

มีผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาตัวใน รพ.มหาราชนครเชียงใหม่ รวมทั้งหมด จำนวน 1 ราย

ในจำนวนนี้เป็นผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยันว่าติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 1 ราย

ผู้ป่วยที่รับการรักษาตัวในโรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่ จำนวน 5 ราย

ผู้ป่วยทั้งหมดได้รับการรักษาอย่างใกล้ชิด จากทีมแพทย์และพยาบาล

#MedCMU #MedCMUในมือคุณ
#คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
#สื่อสารองค์กรMedCMU #COVID19
#ใส่Mask #เว้นระยะห่าง #ล้างมือ
สถานการณ์ผู้ป่วย COVID-19 ในความดูแลของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วันที่ 13 ก.ย. 2564 : 08:00 น.

มีผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาตัวใน รพ.มหาราชนครเชียงใหม่ รวมทั้งหมด จำนวน 1 ราย

ในจำนวนนี้เป็นผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยันว่าติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 1 ราย

ผู้ป่วยที่รับการรักษาตัวในโรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่ จำนวน 3 ราย

ผู้ป่วยทั้งหมดได้รับการรักษาอย่างใกล้ชิด จากทีมแพทย์และพยาบาล

#MedCMU #MedCMUในมือคุณ
#คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
#สื่อสารองค์กรMedCMU #COVID19
#ใส่Mask #เว้นระยะห่าง #ล้างมือ
MedCMU Hall of Fame : รางวัลแห่งความภูมิใจ

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขอแสดงความยินดีกับ
ผศ.นพ.เศรษฐพงศ์ บุญศรี และคณะ
โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่
ในโอกาสได้รับ" รางวัลดีเด่น
Good in Change ประจำปี 2564 "

จาก สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน)
โครงการพัฒนาระบบสารสนเทศ
เปรียบเทียบวัดระดับคุณภาพโรงพยาบาล (THIP)

#MedCMUHall_of_Fame
#MedCMU
#รางวัลแห่งความภูมิใจ
สถานการณ์ผู้ป่วย COVID-19 ในความดูแลของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วันที่ 14 ก.ย. 2564 : 08:00 น.

มีผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาตัวใน รพ.มหาราชนครเชียงใหม่ รวมทั้งหมด จำนวน 2 ราย

ในจำนวนนี้เป็นผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยันว่าติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 2 ราย

ผู้ป่วยที่รับการรักษาตัวในโรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่ จำนวน 2 ราย

ผู้ป่วยทั้งหมดได้รับการรักษาอย่างใกล้ชิด จากทีมแพทย์และพยาบาล

#MedCMU #MedCMUในมือคุณ
#คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
#สื่อสารองค์กรMedCMU #COVID19
#ใส่Mask #เว้นระยะห่าง #ล้างมือ
สถานการณ์ผู้ป่วย COVID-19 ในความดูแลของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วันที่ 15 ก.ย. 2564 : 08:00 น.

มีผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาตัวใน รพ.มหาราชนครเชียงใหม่ รวมทั้งหมด จำนวน 5 ราย

ในจำนวนนี้เป็นผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยันว่าติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 4 ราย

ผู้ป่วยที่กำลังรอผลยืนยันการตรวจเชื้อโควิด-19 จำนวน 1 ราย

ผู้ป่วยที่รับการรักษาตัวในโรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่ จำนวน 2 ราย

ผู้ป่วยทั้งหมดได้รับการรักษาอย่างใกล้ชิด จากทีมแพทย์และพยาบาล

#MedCMU #MedCMUในมือคุณ
#คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
#สื่อสารองค์กรMedCMU #COVID19
#ใส่Mask #เว้นระยะห่าง #ล้างมือ
👇 เชิญคลิ๊กชม

Facebook : https://fb.watch/817dxJ2wE_/

Clubhouse : https://www.clubhouse.com/event/xLlpg5vb

#MEDCMU
#สุขภาพดีกับหมอสวนดอก
#MedCMUในมือคุณ
#คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สถานการณ์ผู้ป่วย COVID-19 ในความดูแลของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วันที่ 16 ก.ย. 2564 : 08:00 น.

มีผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาตัวใน รพ.มหาราชนครเชียงใหม่ รวมทั้งหมด จำนวน 6 ราย

ในจำนวนนี้เป็นผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยันว่าติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 5 ราย

ผู้ป่วยที่กำลังรอผลยืนยันการตรวจเชื้อโควิด-19 จำนวน 1 ราย

ผู้ป่วยที่รับการรักษาตัวในโรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่ จำนวน 2 ราย

ผู้ป่วยทั้งหมดได้รับการรักษาอย่างใกล้ชิด จากทีมแพทย์และพยาบาล

#MedCMU #MedCMUในมือคุณ
#คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
#สื่อสารองค์กรMedCMU #COVID19
#ใส่Mask #เว้นระยะห่าง #ล้างมือ
💉🫀ไขข้อข้องใจ: ฉีดวัคซีน “mRNA” กับความเสี่ยงภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ

วัคซีนกลุ่ม mRNA คือวัคซีนจากบริษัท Pfizer และ Moderna

     สาเหตุของการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจากการฉีดวัคซีน ยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่เชื่อว่าตัววัคซีนเองหรือสารประกอบ ทำให้ภูมิต้านทานของเราไปทำร้ายกล้ามเนื้อหัวใจ เป็นผลให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบได้

     อุบัติการณ์ในการเกิดพบน้อยมาก โดยพบจากผู้ที่ได้รับวัคซีน mRNA
- ประมาณเฉลี่ย 12 คนต่อล้านคน
- โดยจะพบมากในกลุ่มอายุน้อย อายุต่ำกว่า 30 ปี
- พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิงหลายเท่าตัว      

▪️อาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ อาจจะมาด้วยการเจ็บหน้าอก เหนื่อยง่าย

▪️ถ้าอาการรุนแรงอาจจะเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว หรือช็อคได้

    จากรายงานพบว่า ผู้ที่มีผลข้างเคียงจากวัคซีนมากกว่า 95% มีอาการค่อนข้างน้อยมาก หรือไม่มีอาการเลย
อาการมักเกิดภายใน 7-30 วัน หลังรับวัคซีน ควรรีบพบแพทย์ เมื่อมีอาการ

🔹mRNA วัคซีนมีข้อมูลที่สามารถใช้ได้ตั้งแต่อายุ 12 ปี

ข้อมูลโดย
อ.นพ.รังสฤษฎ์ กาญจนะวณิชย์
อาจารย์สาขาอายุรศาสตร์โรคหัวใจ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

#MedCMU #MedCMUในมือคุณ
#คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
#สื่อสารองค์กรMedCMU
#COVID19 #วัคซีนmRNA
#ใส่Mask #เว้นระยะห่าง #ล้างมือ